เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. ชาณุสโสณิวรรค 2. อริยปัจโจโรหณิสูตร
พราหมณ์ พิธีลอยบาปในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปของพราหมณ์
ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปในอริยวินัยก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปของ
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งพิธีลอยบาปในอริยวินัยนี้ ท่านพระ
โคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้า
พระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
พราหมณปัจโจโรหณิสูตรที่ 1 จบ

2. อริยปัจโจโรหณิสูตร
ว่าด้วยพิธีลอยบาปของพระอริยะ
[168] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะแก่เธอทั้ง
หลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปาณาติบาตมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปาณาติบาต ลอยปาณาติบาต
2. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อทินนาทานมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอทินนาทาน ลอยอทินนาทาน
3. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า กาเมสุมิจฉาจารมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละกาเมสุมิจฉาจาร ลอยกาเมสุมิจฉาจาร
4. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มุสาวาทมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมุสาวาท ลอยมุสาวาท
5. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปิสุณาวาจามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปิสุณาวาจา ลอยปิสุณาวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :303 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. ชาณุสโสณิวรรค 3. สคารวสูตร
6. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผรุสวาจามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละผรุสวาจา ลอยผรุสวาจา
7. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า สัมผัปปลาปะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละสัมผัปปลาปะ ลอยสัมผัปปลาปะ
8. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อภิชฌามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอภิชฌา ลอยอภิชฌา
9. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า พยาบาทมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละพยาบาท ลอยพยาบาท
10. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาทิฏฐิมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาทิฏฐิ ลอยมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ
อริยปัจโจโรหณิสูตรที่ 2 จบ

3. สคารวสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ
[169] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร1 ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นฝั่งนี้ อะไรเป็นฝั่งโน้น2”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์
1. ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นฝั่งโน้น
2. อทินนาทานเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นฝั่งโน้น

เชิงอรรถ :
1 ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่อันเหมาะสมเว้นโทษ 6 ประการ คือ (1) ไกลเกินไป (2) ใกล้เกินไป
(3) อยู่เหนือลม (4) สูงเกินไป (5) อยู่ตรงหน้าเกินไป (6) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. 2/16/15)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1,2 ข้อ 117 (สคารวสูตร) หน้า 269 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :304 }